วิธีคำนวณแผ่นเมทัลชีทอย่างไรให้พอดี

Last updated: 11 ต.ค. 2566  |  7934 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แผ่นเมทัลชีท

วิธีคำนวณแผ่นเมทัลชีทอย่างไรให้พอดี

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งหลังคาด้วยแผ่นเมทัลชีท

แผ่นเมทัลชีท เป็นแผ่นเหล็กรีดลอนที่ทำจากแผ่นโลหะผสมกับอะลูมิเนียมและสังกะสี ที่มักนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับการก่อสร้าง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมและก่อสร้างได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำหลังคา งานภายในและภายนอก รวมไปถึงงานผนังและงานรั้ว ก็สามารถนำไปใช้งานได้ดีเช่นกัน ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของแผ่นเมทัลชีทนั่นก็คือมีความยืดหยุ่น เนื่องจากสามารถสั่งผลิตให้มีความยาวตามขนาดที่ต้องการได้ นั่นส่งผลให้หลังคามีรอยต่อน้อย และลดปัญหาหลังคารั่วซึมได้ดีกว่าแผ่นกระเบื้องทั่ว ๆ ไป อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ทนต่อสภาพอากาศ ป้องกันการกัดกร่อนจากการสนิม และช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างไปได้มาก

การเลือกแผ่นเมทัลชีท ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของอาคารที่ต้องการก่อสร้างให้เหมาะกับการใช้งาน เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทที่มีจำหน่ายในประเทศไทย จะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.20-0.51 mm ถือเป็นความหนาที่พอดีและเหมาะสมกับการนำมาใช้ทำหลังคามากที่สุด เนื่องจากแผ่นเหล็กเมทัลชีทหากยิ่งหนาก็จะยิ่งดี แต่ถ้าหากหนามากเกินไป อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวช่างผู้ติดตั้งได้ เพราะฉะนั้นแผ่นเมทัลชีทที่แนะนำให้ใช้สำหรับการสร้างหลังคาควรจะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.35 mm ขึ้นไป เพราะนอกจากจะป้องกันการยุบตัวได้ดีมากกว่าแผ่นเหล็กบาง ๆ แล้ว ยังป้องกันเสียงฝนตกที่อาจจะทุ้มกว่าแผ่นบางด้วย

นอกจากนี้ยังมีแผ่นเมทัลชีทที่ผ่านการเคลือบสีแล้วให้เลือกใช้งานอีกด้วย ซึ่งข้อดีของเมทัลชีทแบบเคลือบสีจะช่วยลดเสียงรบกวนได้มากกว่า ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น อีกทั้งยังทำให้บ้านมีสีสันสวยงามมากกว่าด้วย และสำหรับข้อแนะนำในการใช้แผ่นเมทัลชีท ควรเลือกติดตั้งหลังคาเมทัลชีทที่มีฉนวนกันความร้อน เนื่องจากจะสามารถลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้แผ่นเมทัลชีทที่ติดฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูป แบบวางใต้ฝ้าเพดาน หรือแบบพ่นโฟม pu ก็มีให้เลือกใช้ตามความต้องการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้วย

ข้อควรรู้ก่อนติดตั้งหลังคาด้วยแผ่นเมทัลชีท

  • หลังคาเมทัลชีทมีความยาวต่อเนื่องตลอดทั้งผืน จึงสามารถกำหนดความยาวได้ตามต้องการ

  • ช่วยลดปัญหาจุดรั่วรอยต่อ จุดรั่วซึมไปได้อย่างมาก

  • หลังคาเมทัลชีทคลายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้อง จะเห็นได้ว่าหลังจากที่พระอาทิตย์ตกดิน ความร้อนที่สะสมภายในอาคารจะถูกคลายออกอย่างรวดเร็ว

  • สามารถออกแบบหลังคาได้ตามความต้องการ เช่น หลังคารูปจั่ว จะต้องออกแบบให้มีชายคายาวออกไปประมาณ 1 เมตร ซึ่งหลังคาเมทัลชีทเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา จึงสามารถทำชายคายื่นออกไปได้ดี

  • หลังคาเมทัลชีทสามารถออกแบบให้มีความลาดเอียงต่ำได้ สามารถรองรับความชันได้เพียง 4-5 องศา ส่วนหลังคากระเบื้องไม่สามารถรองรับองศาต่ำได้

  • หลังคาเมทัลชีทมีขนาดใหญ่ เป็นแผ่นเดียวกันตลอดทั้งผืน ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน เพราะเพียงแค่วางแผ่นและติดตั้งตามขั้นตอนก็เป็นอันเสร็จ

  • หลังคาเมทัลชีทสามารถปรับโค้งได้ตามความต้องการ เพราะเป็นแผ่นเหล็กรีดลอนจึงสามารถรองรับการบิดงอได้ แตกต่างจากคอนกรีตที่ไม่สามารถดัดโค้งได้

  • หลังคาเมทัลชีทสามารถกรุผนังได้ เพียงแค่ติดตั้งเมทัลชีทเข้ากับผนังบ้าน ก็ช่วยทำให้เกิดความสวยงามมากขึ้น

วิธีคำนวณแผ่นเมทัลชีท สำหรับติดตั้งหลังคาให้มีความพอดี

การคำนวณแผ่นเมทัลชีท นอกจากจะทำให้เรารู้ขนาดของแผ่นหลังคาที่จะนำมาติดตั้งแล้ว ยังจะทำให้เราได้คำนวณราคาจริงของวัสดุได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้เราสามารถคำนวณงบประมาณที่ถูกต้องได้ รวมไปถึงทำให้ตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้น โดยสูตรในการคำนวณแผ่นเมทัลชีท เราได้รวบรวมมาให้ 2 สูตรดังนี้

  • สูตรที่ 1
    สำหรับสูตรการคำนวณวิธีแรก จะขอยกตัวอย่างหลังคาที่เป็นแบบจั่ว ซึ่งขนาดความยาวด้านกว้างของหลังคาแบบจั่วจะอยู่ที่ 10 เมตร และมีความยาวของแนวลาดจากหลังคาลงมาอยู่ที่ 5 เมตร เท่ากันทั้ง 2 ด้าน โดยใช้สูตรดังนี้

    นำพื้นที่ทั้งหมด มาคูณด้วย 2 = (10×5) x 2 = 100 ตร.ม.
    จากนั้นให้เช็กราคากลางของค่าวัสดุแล้วค่าแรงต่อตารางเมตรของหลังคา แล้วนำมาคูณกับพื้นที่ 100 ตารางเมตรอีกที ก็จะได้ราคาเบื้องต้นของหลังคา ซึ่งถ้าหากไปซื้อจริง ๆ ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายบวกลบเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้งานและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกที

  • สูตรที่ 2
    สำหรับสูตรการคำนวณวิธีที่ 2 ให้ใช้วิธีการคำนวณหลังคาตามความยาวเป็นเมตร ซึ่งจะต้องใช้ขนาดของแผ่นเมทัลชีทมาช่วยประกอบการคำนวณ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ขนาดฝั่งด้านกว้างของแผ่นเมทัลชีทตามขนาดมาตรฐานโดยจะอยู่ที่ 760 หรือ 0.76 เมตร ถือเป็นความกว้างต่อแผ่นแบบมาตรฐานรวมประกบแล้ว ซึ่งในที่นี้เราจะขอยกตัวอย่างความกว้างของหลังคาอยู่ที่ 10 เมตร โดยจะใช้วิธีการคำนวณดังนี้

    นำความยาวด้านกว้างของหลังคาตั้ง แล้วหารด้วย 0.76 เมตร = 10÷0.76 = 13.517

    ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะได้เท่ากับ 13.517 ก็ให้เราปัดขึ้นไปเป็น 14 แผ่น และขนาดมาตรฐานของแผ่นหลังคาเมทัลชีทจะต้องมีความยาวอยู่ที่ 5 เมตร และควรพิจารณาเผื่อความยาวของชายแผ่นหลังคาประมาณ 10 ถึง 15 ซม. ด้วย

    จากนั้นให้นำจำนวนแผ่นเมทัลชีท 14 แผ่น มาคูณ 2 เนื่องจากแผ่นหลังคานั้นมีอยู่ 2 ด้านจะได้เท่ากับ 14 แผ่น x 2 ด้าน = 28 แผ่น โดยเมื่อคิดเป็นความยาวรวมทั้งหมดจะได้ 28 แผ่น x 5 เมตร = 140 เมตร นั่นเอง

    เมื่อคำนวณความยาวของแผ่นเมทัลชีทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เช็กราคาของแผ่นเมทัลชีทให้เรียบร้อย ซึ่งแน่นอนว่ามีราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และเกรดของแผ่นเมทัลชีท เพราะถึงแม้จะมีราคาที่แตกต่างกัน แต่การคำนวณเฉพาะส่วนของหลังคาจะทำให้เราทราบจำนวนแผนที่เราต้องนำไปใช้งานจริง และสามารถตัดสินใจซื้อได้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เกินงบประมาณ อีกทั้งยังได้เปรียบเทียบคุณภาพอย่างชัดเจนอีกด้วย

ซึ่งในปัจจุบันหลังคาเมทัลชีทมีให้คุณเลือกมากมายหลายประเภทที่ บริษัท เจริญหลังคาเหล็ก ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทผู้จัดจำหน่ายแผ่นเมทัลชีท ราคาประหยัด มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ทั้งหลังคาเมทัลชีทลอนมาตรฐาน หลังคาเมทัลชีทลอนนิยม หลังคาเมทัลชีทลอนพาเนลริบ หลังคาเมทัลชีทลอนสเปน ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีอุปกรณ์ยึดติดที่แข็งแรงและง่ายต่อการติดตั้ง รอยต่อระหว่างแผ่นมีน้อยเพราะสามารถสั่งตัดหรือดัดโค้งได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ เรายังมีบริการวัดหน้างานฟรี เพื่อช่วยให้คุณได้รับการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณอย่างเหมาะสม หลังคาเมทัลชีทของเรามีความหนาที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในทุกสภาพอากาศ หากคุณกำลังมองหาตัวเลือกที่คุ้มค่าและมีคุณภาพสูงสุดสำหรับการต่อเติมหรือสร้างบ้านใหม่ แผ่นเมทัลชีทของเราเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบและคุ้มค่าที่สุดสำหรับคุณ

จำหน่ายแผ่นเมทัลชีท หลังคาเหล็ก พียูโฟม ครบวงจร
โดย บริษัท เจริญหลังคาเหล็ก
โทรศัพท์ : 084-356-1978, 061-429-8287, 063-115-7444
LINE : dlmetalroof
Facebook : https://www.facebook.com/jaroenmetalsheet
E-Mail : isareehrr@gmail.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้